ข้อแตกต่างระหว่างการติดตั้งชุกคอม้ายกและชุดยกของรถขับเคลื่อนสองล้อ (2WD)

New !!!!!! รุ่นปีกนก 3 ชั้น K3 <read more>

รุ่นปีกนก 2 ชั้น

รูปแบบช่วงล่างของรถมาตราฐาน (รูปที่ 1)

รูปแบบช่วงล่างของการติดตั้งคอม้ายก (รูปที่ 2)

ข้อดีของการติดตั้งคอม้ายก

- ใช้เวลาติดตั้งประมาณ 4- 5 ชั่วโมง

- ราคาคอม้ายกจะถูกกว่าเพราะมีอุปกรณ์น้อยกว่า

ข้อเสียของการติดตั้งคอม้ายก

- ล้อหน้าจะถ่างออกมากกว่าปกติข้างละ 1 - 1.5 นิ้ว

- ใต้ท้องรถจะดูโล่งๆ ไม่แข็งแรงดูแล้วไม่ค่อยสมส่วน

- แกนดุมล้อไม่อยู่ในตำแหน่งเดิม ทำให้มีปัญหาเรื่องลูกปืนล้อสึกหรอเร็วขึ้น ต้องซ่อมบำรุงบ่อย

- แกนดุมล้อมักจะขาดบ่อย เพราะตำแหน่งไม่อยู่ระหว่างตรงกลางของปีกนกบนและล่างทำให้กระจายแรงไม่ได้   และแรงจะมาตกที่แกนดุมล้ออย่างเดียว จึงทำให้แกนดุมล้อมักมีปัญหา

- เหล็กแกนดุมล้อทำจากเหล็กเหนียวหัวสีฟ้าซึ่งมีความแข็งมากกว่าเหล็กคอม้าซึ่งเป็นเหล็กเหนียวธรรมดาจึงทำให้เหล็ก
  ของคอม้าเกิดอาการยุบตัว จึงมีช่องว่างให้แกนดุมล้อเลื่อนขึ้นลงได้ แต่ด้านปลายของแกนดุมล้อที่อยู่ในคอม้าเชื่อมไฟฟ้า
  ไว้จึงทำให้แกนดุมล้อเกิดอาการร้าวและขาดได้ดังรูปด้านล่าง

- บูซสลักปีกนกมักจะขาดบ่อย

- เวลาเบรครถจะเกิดอาการดึงพวงมาลัยด้านซ้ายหรือด้านขวา

- เมื่อใช้รถในทางทุรกันดารมักจะมีปัญหากับช่วงล่างของรถ เนื่องจากรถจะให้ตัวไม่ค่อยได้

- เวลาขับเคลื่อน โอกาสในการเกิดอุบัติเหตุจะมีมากกว่า และเสียค่าบำรุงรักษาค่อนข้างบ่อย

 

รูปแบบช่วงล่างของการติดตั้งชุดยก (รูปที่ 3)

ข้อดีของการติดตั้งชุดยก

- ระยะของล้อหน้าและล้อหลังจะเสมอกัน

- ใต้ท้องรถไม่โล่ง ดูแข็งแรง และใกล้เคียงกับรถมาตราฐาน

- แกนดุมล้อ สามารถใช้ของเดิมได้ และจะอยู่ระหว่างปีกนกบน และล่าง จึงใกล้เคียงกับรถ standard มากที่สุด

- ตำแหน่งของบูซสลักปีกนกจะเหมือน รถ Standard ทำให้ไม่มีปัญหาเรื่องการบำรุงรักษา

- เวลาเบรถรถ จะไม่ดึงไปด้านใดด้านหนึ่ง การทรงตัวของรถจะมั่นคงกว่า

- สามารถใช้งานและให้ตัวได้ดี แม้ในถนนทุรกันดาร

- โอกาสเกิดอุบัติเหตุน้อย เพราะคำนวณแรงตามหลักวิศวกรรม

- ค่าบำรุงการรักษาน้อย

ข้อเสียของการติดตั้งชุดยก

- ใช้เวลาในการติดตั้งประมาณ 10 - 15 ชั่วโมง เพราะมีตัวอุปกรณ์มากกว่า

- ราคาแพงกว่าคอม้ายก